เที่ยวภูเก็ต ชมทะเลสวย ๆ



Spread the love

ภูเก็ต

เตี้ยมฉู่ และ อั้งม้อเหลา

เก็บรูปที่เคยไปเที่ยวภูเก็ตไว้นานมากถึงเวลาเอามาปัดปุ่นลงเว็บเสียที่เราเริ่มต้นกันที่สถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองกันเลยภูเก็ตถือว่าเป็นเมืองที่ยังอนุรักษ์ของเก่า ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูได้ชมมีทั้งบ้านและตึกเก่าที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และความเป็นมาของสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งตึกเก่าเหล่านี้อยู่บนถนนถลาง ถนนกระบี่ ถนนดีบุก และ ถนนเยาวราช ตึกแถวที่นี่เรียกว่า “เตี้ยมฉู่” มีทั้งคฤหาสน์ฝรั่ง ที่เรียกว่า “อั้งม้อเหลา” เรียงรายกันตลอดสองข้างถนน ซึ่งถนนสายคลาสสิกเหล่านี้อยู่คู่กับเมืองภูเก็ตมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 สมัยพระยารัษฏานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้ว่าการมณฑลภูเก็ตในสมัยนั้น ท่านได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวจากผู้ที่ทำเหมืองแร่ในสมัยนั้นให้ราชการตัดถนนในเมืองภูเก็ตขึ้นหลายสายทำให้เกิดบ้านเรือนของเหล่าผู้ทำเหมืองแร่อยู่สองฟากถนนด้วยสถาปัตยกรรมแบบชิโน โปรตุกีสที่รับมาจากปีนัง ในสมัยนั้นภูเก็ตถือเป็นแหล่งแห่งความเจริญรุ่งเรือง

ตึกเก่าที่ภูเก็ตแบ่ได้เป็น 4 ยุค ยุคแรก เริ่มสร้างในสมัยรัชการที่ 5 เป็นตึกแบบจีนเรียบง่ายมีทั้งชั้นเดียวและสองชั้นไม่มีลวดลาย ยุคที่ 2 ในช่วงปลายรัชการที่ 5 ต้นราชการที่ 6 ตึกยุคนี้มีการผสมผสานกับสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบคลาสสิกลักษณะเด่นคือหน้าต่างเป็นบานยาว ขอบวงกบบนโค้ง ประดับหัวเสากรีก-โรมันและวดลายปูนปั้นเหนือประตูหน้าต่าง ยุคที่ 3 อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 7 มีการสร้างราวระเบียงชั้นบนชั้นล่างเป็นทางเดินทางแบบอาเขตเน้นประโยชน์การใช้สอย ยุคสุดท้ายในช่วงปลายรัชกาลที่ 7 ระเบียงด้านหน้าประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเอกลักษณ์สำคัญคือหลังคาทำเป็นลูกกรงระเบียงบังเอาไว้มองไม่เห็นกระเบื้องหลังคา ซึ่งแต่ละยุคก็จะมีจุดสังเกตที่ต่างกันออกไป

ขอบคุณภาพจาก http://paribut.bloggang.com

สะพานหิน ภูเก็ต

เป็นสัญลักษณ์อีกที่หนึ่งของภูเก็ต ถ้าหากคุณมาเที่ยวภูเก็ตแล้วต้องมาที่สะพานหินแห่งนี้ในอดีตสะพานแห่งนี้จะเป็นที่ทำกิจกรรมของชาวภูเก็ตไม่ว่าจะเป็นการมาเดินเล่นปั่นจักรยาน พาครอบครัวมาปิคนิค ออกกำลังกายหากมาที่นี่แล้วหาไม่เจอถามคนภูเก็ตรับประกันว่าคนภูเก็ตจะต้องรู้จักดี และมีสัญลักษณ์คล้ายเปลือกขนาดใหญ่เป็นสัญลักษณ์สะพานหินตั้งเด่นชัด แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นสัญลักษณ์กระเฌอขุดแร่เป็นสัญญาลักษณ์ให้ระลึกถึงสมัยก่อนที่ภูเก็ตจะมีการขุดแร่เป็นอาชีพ ในยุคของกัปตันฟานซิสไรท์เข้ามาบุกเบิกทำเหมืองแร่ดีบุก เดิมนั้นสะพานหินแห่งนี้เป็นท่าเทียบเรือเรียกว่าท่าเทียบเรือ นฤศร ภูเก็ต ที่เรียกว่าสะพานหินก็เพราะในสมัยก่อนจะมีเรือเข้ามาเทียบท่านี้นี่ก็จะใช้หินเรียงทำเป็นสะพาน ณ ปัจจุบันนี้สะพานหินได้กลายเป็นแหลมและที่นี่ก็เป็นทะเลที่ใกล้ตัวเมืองภูเก็ตมากที่สุด สะพานหินในสมัยก่อนถือเป็นสถานที่ทำกิจกรรมของชาวภูเก็ตมีเปิดร้านขายของสนามกีฬาให้เด็ก ๆ ได้เล่น ได้ออกกำลังกายแต่ปัจจุบันอาจจะไม่ครึกครื้นเหมือนเมื่อก่อนเพราะมีห้างสรรพสินค้าและแหล่งบันเทิงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายที่ทำกิจกรรมร่วมกันเลยเปลี่ยนไป

ขอบคุณภาพจาก http://paribut.bloggang.com

ภูเก็ต

ไขมุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้
หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี
บารมีหลวงพ่อแช่ม

คำว่า “ภูเก็ต” นั้นเชื่อว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายูคือ “บูกิ๊ต” ซึ่งแปลว่าภูเขา ภูเก็ตเป็นเมืองที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์เพราะฝรั่งฮอลันดามารับซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ 1 พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทยในปี พ.ศ. 2328 โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไป ถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรมยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวกตั้งค่ายใหญ่ขึ้น 2 ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสองเป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรเป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลาดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภูเก็ตได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวอกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในาภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโมเมตร และส่วนกง้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกระทู้


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ประเพณีถือศีลกินผัก ภูเก็ต

ความศรัทธาสร้างปาฏิหาริย์ ใครต้องการจะเดินทางเพื่อพิสูจน์คำพูดนี้ ต้องลงใต้ไปที่จังหวัดภูเก็ตร่วมพิธีถือศีลกินผัก เพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อตามคำตอบของปาฏิหาริย์แห่งศรัทธา เจี๊ยะฉ่าย หรือที่เรียกกันติดปากว่า กินผัก เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน พิธีกรรมหลัก ๆ มีอยู่ 5 พิธี คือ พิธีแห่งพระ (อิ้วเก่ง) เป็นพิธีอัญเชิญเฮี้ยวโห้ย (ไฟศักดิ์สิทธิ์๗ ) เพื่อเป็นสิริมงคลและทำให้รุ่งเรืองประดุจไฟ ซึ่งองค์เทพต่าง ๆ จะประทับทรงในร่างม้าทรง แห่ไปตามถนนรอบเมืองภูเก็ต โดยที่องค์พระใช้อาวุธทิ่มแทงร่างกายเป็นการแสดงถึงบารมีขององค์เทพนั้น ๆ พิธีอัญเชิญหล่ำเต้าปักเต้าเป็นการอัญเชิญองค์เทพมาเพื่อให้บุคคลยำเกรงและหมั่นทำความดียิ่งขึ้นพิธีลุยไฟ พิธีขึ้นบันไดมีดหรือพิธีกรรมอื่น ๆ เป็นพิธีที่แสดงให้เห็นถึงความบริสรุทธิ์สะอาดทั้งร่างกายและจิตใจ พิธีสะเดาะเคราะห์ (โก้ยห่าน) เพื่อให้ผู้ที่ร่วมในประเพณีได้สะเดาะเคราะห์ จากนั้นในช่วงดึกของวันสุดท้ายจะเป็นพิธีส่งพระ เพื่อจะไปประกอบพิธีส่งพระที่ปลายแหลมสะพานหิน ระหว่างพิธี ชาวบ้านจะช่วยกันจุดประทัดดึงอึกทึกไปทั้งเส้นทาง ประเพณีกินผักนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและเทวดาฟ้าดินเพื่อให้คุ้มครองชาวภูเก็ตและเกาะภูเก็ตตลอดไปใครสนใจ ไม่ควรพลาดปาฏิหาริย์แห่งศรัทธานี้ งานประเพณีถือศีลกินผักจะจัดขึ้นตามปฏิทินจีน กำหนดวัน ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคมอขงทุกปี ประเพณีถือศีลกินผักจะละเว้นไม่กินเนื้อสัตว์เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน

ฝากแชร์ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply

Your email address will not be published.